คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

Quantum – Fin คืออะไร

ตอบ : Quantum - Fin เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผู้ให้บริการทางการเงินในระบบที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) จุดประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกและเพิ่มผลตอบแทนให้กับนักลงทุน โดยการรับขายฝาก - จำนอง ที่มีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และบริษัทมีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในอัตราดอกเบี้ยที่ใกล้เคียงกับสถาบันการเงินและระยะเวลาขายฝากที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มอัตราผลตอบแทนของฝั่งนักลงทุนมากถึง 9 – 15 % ต่อปีโดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ประเมินคุณภาพและมูลค่าตามหลักเกณฑ์ของบริษัท ด้วยทีมงานมืออาชีพ ดังนั้น การให้บริการของทีมงาน Quantum - Fin จึงมีมาตราฐานในการให้บริการ สะดวก รวดเร็ว เข้าใจลูกค้าและนักลงทุนในทุกๆด้าน

บริการของ Quantum – Fin มีอะไรบ้าง

1. หาทรัพย์สินที่ผ่านเกณฑ์ของบริษัท มาให้เลือกลงทุนตามทำเล และวงเงินที่นักลงทุนสนใจ
2. นำเสนอข้อมูลทรัพย์สินและราคาประมินของทรัพย์ ที่บริษัทได้ทำการประเมินจากบริษัทที่มีมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพในประเทศไทย ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
3. สร้างห้องประมูลข้อเสนอให้กับนักลงทุนได้เห็นทรัพย์สินที่ขึ้นประมูลและข้อเสนอพร้อมกัน โดยที่ท่านนักลงทุนสามารถแจ้งเงื่อนไขและวงเงินได้ตามที่ต้องการ เพราะเราเชื่อว่านักลงทุนแต่ละท่านให้ค่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละทรัพย์แตกต่างกัน
4. จัดเก็บข้อมูลของผู้กู้ และนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของผู้กู้ยืมให้แก่นักลงทุน เช่น อายุ อาชีพ แหล่งที่มาของรายได้ทั้งหมด หนี้สินปัจจุบันและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆเพื่อประกอบการพิจารณาให้กู้ยืม โดยเป็นการเก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์จากผู้กู้แต่เพียงผู้เดียว
5. ให้บริการด้านสัญญา และร่างอนุสัญญา ที่ใช้ควบคู่ไปกับสัญญาฉบับกรมที่ดิน และอะิบายตอบข้อสงสัย รวมทั้งร่างและส่งจดหมายทวงถามให้ชำระหนี้ ตามประมวณกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การลงทุนรับขายฝากและรับจำนองมีความเสี่ยงแตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างในการโอนกรรมสิทธิ์ การขายฝากคือนักลงทุนจะรับโอนกรรมสิทธิ์ในหลักประกันมาตั้งแต่วันที่ทำสัญญา จนกว่าผู้ขายฝากจะนำเงินค่าสินไถ่ที่ตกลงไว้มาคืน กรรมสิทธิ์ในหลักประกันถึงจะโอนกลับไปที่ผู้กู้ยืม
ส่วนการจำนองนั้นกรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้จำนอง จะได้รับการจดทะเบียนใส่ชื่ออยู่ด้านหลังของโฉนดและบังคับชำระหนี้กับทรัพย์สินนั้นได้หากผู้จำนองไม่ชำระหนี้
3.2 ความแตกต่างในด้านการบังคับให้ชำระหนี้คืน กรณีขายฝากหากผู้ขายฝากไม่มาชำระหนี้คืน นักลงทุนก็จะได้รับทรัพย์นั้นไป แต่ไม่สามารถฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากมาชำระหนี้คืนได้
ส่วนการบังคับให้ชำระหนี้จำนองนั้น สามารถกระทำได้โดย มีหนังสือทวงถามไปยังผู้จำนองให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ ก็จะสามารถฟ้แงคดีต่อศาลได้ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมศาลและค่าว่าจ้างทนายความ นักลงทุนหรือผู้ต้องการทำนิติกรรมจำนองควรศึกษาเพิ่มเติม หรือสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ของเราได้
3.3 ความแตกต่างของวงเงินที่จะให้สินเชื่อ เนื่องจากจำนองมีความเสี่ยงและอาจมีข้อยุ่งยากในการบังคับให้ชำระหนี้ ทางควอนตัม ฟินจึงแนะนำให้เสนอขอสินเชื่อจากหลักทรัพย์ไม่เกิน 45% ของราคาประเมิน เพื่อในกรณีที่ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ย หรือต้องเรียกร้องค่าธรรมเนียมและค่าทนายความจากลูกหนี้